:::::::::::ศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร(ศ.ต.ภ.)
หลักการ
เหตุผล
ระเบียบ
หมวด ๑
หมวด ๒
หมวด ๓
หมวด ๔
หมวด ๕
หมวด ๖
หมวด ๗
 

หมวด ๓
กรณียะในการไปต่างประเทศ

       ข้อ ๙ ในระยะที่ยกเป็นเหตุในการขอเดินทางไปต่างประเทศได้มีกำหนดดังนี้
              (๑) ไปสอนพระปริยัติธรรมหรือสอนพระพุทธศาสนาในถิ่นอันสมควร
              (๒) ไปศึกษาวิชาอันไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและสมควรแก่สมณวิสัย
              (๓) ไปนมัสการปูชนียวัตถุ และหรือปูชนียสถานเป็นหมู่คณะ ตามที่คณะกรรมการ ศ.ต.ภ.เห็นสมควร
              (๔) ไปบำเพ็ญกุศลเนื่องด้วยถวายผ้ากฐินตามเทศกาลหรือผ้าป่า
              (๕) ไปเยี่ยมอุปัชฌาย์ อาจารย์หรือญาติชั้นบุรพการีหรือญาติอื่นใด ตามที่คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เห็นสมควร หรือ
              (๖) ไปกิจนิมนต์ตามที่คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เห็นสมควร
       ข้อ ๑๐ พระภิกษุผู้ได้รับอาราธนาไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมหรือสอนพระพุทธศาสนาจากเจ้าอาวาส เจ้าคณะ องค์การ สมาคมหรือสถาบันอื่นใดในต่างประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ได้รับอาราธนาแจ้งรายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานการอาราธนา สถานที่จะทำการ กิจที่จะทำ วิธีที่จะทำ วิธีดำเนินการ การอุปถัมภ์ในการเดินทาง และการเป็นอยู่ ที่พักอาศัย
              ถ้าหลักฐานต่าง ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยผู้แปลและผู้ไปนั้นลงนามรับรองคำแปลด้วย
       ข้อ ๑๑ พระภิกษุผู้ประสงค์จะเดินทางไปศึกษาวิชาอันไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและสมควรแก่สมณวิสัย ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้
             (๑) เป็นเปรียญ
             (๒) มีพื้นฐานความรู้สามัญศึกษา ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
             (๓) มีสุขภาพอนามัยดี ซึ่งนายแพทย์แผนปัจจุบันชั้น ๑ ตรวจและรับรองเป็นหลักฐานว่าสามารถไปศึกษาได้
             (๔) มีสติปัญญาและฉันทะ วิริยะ ขันติ ปานกลาง เป็นอย่างต่ำ ในกรณีนี้ให้ผู้ขออนุญาตแสดงหลักฐานและคะแนนวิชาครั้งสุดท้ายที่ตนสอบไล่ได้
       ข้อ ๑๒ พระภิกษุผู้ขออนุญาตเพื่อไปศึกษาในต่างประเทศต้องแจ้งรายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานเกี่ยวกับการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการศึกษาแต่ละปีและผู้อุปถัมภ์ในการเดินทาง ตลอดถึงการอุปถัมภ์ในการศึกษาจนกว่าจะจบหลักสูตร
              ถ้าหลักฐานต่าง ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยผู้แปลและผู้ไปนั้นลงนามรับรองคำแปลด้วย